ส่องพฤติกรรมการออมคนไทย 2562

การมีบัญชีเงินฝากถือเป็นหนึ่งในบริการทางการเงินขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรเข้าถึงได้เพราะการมีบัญชีเงินฝาก ไม่เพียงเป็นจุดเริ่มต้นที่นําไปสู่การออมในรูปแบบหนึ่ง ยังเป็นประตูในการเข้าถึงบริการทางการเงินประเภทต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นการขอสินเชื่อ การโอน/รับเงิน หรือการชําระเงิน เป็นต้น การเข้าถึงบัญชีเงินฝากหรือความเป็นเจ้าของบัญชีเงิน ฝากจึงถือว่ามีความสําคัญอย่างยิ่ง ในบทความนี้เราจะนําเสนอมุมมองเชิงลึกของพฤติกรรมการออมของคนไทยที่ได้ จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของเงินฝากรายบัญชีจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (Deposit Protection Agency: DPA) ที่ครอบคลุมกว่า 80 ล้านบัญชี

ข้อมูลล่าสุดของธนาคารโลกแสดงให้เห็นว่าคนไทย สามารถเข้าถึงบริการเงินฝากและ/หรือบัญชี mobile money ได้ในสัดส่วนที่สูงเทียบเท่ากับประเทศพัฒนา โดยสูงเป็น อันดับที่ 20 ของโลก และเป็นอันดับ 6 ในเอเซีย (รองจาก ญี่ปุ่น สิงคโปร์ฮ่องกง ไต้หวัน และมาเลเซีย) (WB, 2017) สัดส่วนของคนไทยหรือครัวเรือนไทยที่มีบัญชีเงินฝากกับ ธนาคารพาณิชย์ก็เพิ่มสูงขึ้นทุกปี(IMF, 2019 และ BOT, 2018) แต่สัดส่วนการออมต่อรายได้ของครัวเรือนไทยกลับมี แนวโน้มลดลง (SES, 2017) ซึ่งภาวะการออมที่ลดลง อาจ ส่งผลให้ครัวเรือนมีสภาพคล่องไม่เพียงพอรองรับความ ต้องการใช้จ่ายหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด (shock) รวมถึง รองรับในวัยหลังเกษียณ อันเป็นหนึ่งในสาเหตุของหนี้ ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น

ที่ผ่านมาการศึกษาเรื่องการออมส่วนใหญ่ใช้ข้อมูล สํารวจรายครัวเรือน ซึ่งอาจมีข้อดีตรงที่สามารถครอบคลุม การออมทุกประเภททั้งสินทรัพย์ทางการเงินและไม่ใช่ทาง การเงินของแต่ละครัวเรือนได้แต่จํานวนกลุ่มตัวอย่างของ ข้อมูลสํารวจส่วนใหญ่ไม่ได้ครอบคลุมคนทุกกลุ่มของประเทศ รวมถึงข้อมูลสํารวจเป็นข้อมูลที่ครัวเรือนตัดสินใจตอบเอง หรือ self-reporting ซึ่งอาจมีหลายเหตุผลที่ทําให้ข้อมูลจาก การสํารวจไม่ตรงตามข้อเท็จจริง ข้อมูลสถิติขนาดใหญ่จาก DPA ที่ครอบคลุมเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศ และมีรายละเอียดในระดับบัญชีและผู้ฝากเงิน จึงเข้ามาเติมเต็ม องค์ความรู้และน่าจะทําให้เราเข้าใจสถานการณ์ออมที่ถูกต้อง และในเบื้องลึกขึ้น รวมถึงสามารถนําไปต่อยอดเชิงนโยบายได้

ข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์จาก DPA

ข้อมูลเชิงสถิติของ DPA เป็นข้อมูลรายบัญชีเงินฝาก ที่สถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครองรายงานมาที่ DPA ใน การศึกษานี้ เราใช้ข้อมูลล่าสุดของ DPA โดย ณ มิถุนายน 2560 DPA มีปริมาณเงินฝากรวมทั้งสิ้น 12 ล้านล้านบาท มี บัญชีเงินฝากกว่า 80.2 ล้านบัญชี ของผู้ฝากเงินบุคคล ธรรมดา 37.9 ล้านคน จากสถาบันการเงิน 34 แห่ง1 (ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ไทย ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ธนาคาร พาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ สาขาของ ธนาคารต่างประเทศ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทุกแห่ง)

จุดเด่นของข้อมูลชุดนี้ นอกจากจะเป็น administrative data ที่ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบแล้ว ข้อมูลนี้ยังครอบคลุมผู้ฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ทั้งหมดทั่วประเทศและครอบคลุม 72% ของเงินฝากในระบบทั้งหมด ข้อมูลนี้ยังครอบคลุมทุก ๆ บัญชีเงินฝากของผู้ฝากแต่ละรายกับทุกธนาคารพาณิชย์ ซึ่งต่างจากข้อมูลของสถาบัน การเงินที่ใดที่หนึ่ง ที่จะเห็นเฉพาะข้อมูลเงินฝากของสถาบัน เดียว ข้อมูลนี้ยังมีความละเอียดในระดับรายบัญชี ในสาม มิติหลัก ได้แก่ (1) รายละเอียดประเภทเงินฝากและสถาบัน การเงิน (2) รายละเอียดผู้ฝาก โดยเฉพาะอายุ เพศ และ รหัสไปรษณีย์ที่อยู่ (3) ปริมาณเงินฝาก

แต่จุดด้อยของข้อมูลชุดนี้ก็คือเป็นข้อมูลเพียง ณ เดือนมิถุนายน 2560 ซึ่งหากสถานการณ์ออมของคนบางกลุ่ม มีลักษณะเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล (seasonality) เช่น เกษตรกร ก็อาจไม่สามารถสะท้อนสถานการณ์ออมของคน กลุ่มนี้ในภาวะปกติได้ ประกอบกับข้อมูลชุดนี้ไม่ครอบคลุมเงิน ฝากของทุกประเภทสถาบันการเงินในระบบ (เช่น สถาบัน การเงินเฉพาะกิจ) สถาบันการเงินกึ่งในระบบ และนอกระบบ (อาทิ สหกรณ์ กองทุนหมู่บ้าน และกลุ่มออมทรัพย์) จึงควรใช้ ความระมัดระวังในการตีความในมิติของการออม เนื่องจาก อาจไม่สามารถสะท้อนการออมในรูปเงินฝากของคนไทยได้ ทั้งหมด รวมถึงการออมในรูปแบบอื่นด้วย

ในบทความนี้ Lamsam et al. (forthcoming) จะเปิด มุมมองเชิงลึกของพฤติกรรมการออมของคนไทย โดยใช้ ข้อมูลเงินฝากรายบัญชีจาก DPA ซึ่งมีความละเอียดในระดับ ผู้ฝากเงินและรายบัญชี ทําให้สามารถเห็นพอร์ตเงินฝากของ แต่ละผู้ฝากได้ รวมถึงครอบคลุมผู้ฝากทั่วประเทศ บทความนี้ มุ่งเน้นตอบคําถาม 2 ข้อหลัก ๆ คือ (1) คนไทยกลุ่มต่าง ๆ มี บัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์กันมากน้อยแค่ไหน และ (2) พฤติกรรมการออมในรูปแบบเงินฝากธนาคารพาณิชย์ของคน ไทยเป็นอย่างไร (มีกี่บัญชี ใช้บัญชีอะไร กับสถาบันการเงินใด) และมีนัยเชิงนโยบายอย่างไรบ้าง

ความกระจุกตัวของเงินฝากธนาคารพาณิชย์

เราพบว่าเงินฝากมีการกระจุกตัวสูง ในรูปที่ 1a เรา เรียงลําดับผู้ฝากแต่ละรายตามปริมาณเงินฝากและเส้นสี กรมท่าแสดงค่าสะสมของสัดส่วนเงินฝากของผู้ฝากแต่ละราย ต่อเงินฝากในระบบทั้งหมดจากคนที่มีเงินฝากน้อยที่สุดไปสู่ คนที่มีเงินฝากมากที่สุดและพบว่าผู้ฝากรายใหญ่สุด 10% มีเงินฝากรวมถึง 93% ของเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด

นอกจากนี้ผู้ฝากรายใหญ่สุด 10% ยังมีการกระจาย ตัวของเงินฝากสูงเมื่อเทียบกับผู้ฝากในกลุ่ม decile อื่น รูปที่ 1b ฉายภาพการกระจายตัวของเงินฝากในแต่ละกลุ่ม decile ของผู้ฝาก โดยเรียงลําดับผู้ฝากแต่ละรายตามปริมาณเงินฝาก จะได้ 10 กลุ่ม decile จากคนที่มีเงินฝากน้อยที่สุด (decile 1) ไปยังคนที่เงินฝากมากที่สุด (decile 10) จากรูปจะเห็นได้ว่าผู้ ฝาก decile 5 (มีเงินในบัญชีระหว่าง 1,081.1-3,142.2 บาท) มี ค่ากลางเงินฝากที่ 1,992.1 บาท ขณะที่ผู้ฝาก decile 10 (เงิน ในบัญชี > 173,944.2 บาท) มีค่ากลางเงินฝากที่ 483,132.5 บาท

บัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ กว่า 80 ล้านบัญชีอยู่ที่ ใครบ้าง

ในภาพรวมคนไทยกว่าครึ่ง (56.04%) มีบัญชีเงิน ฝากกับธนาคารพาณิชย์ แต่มีเงินในบัญชีน้อย โดย ครึ่งหนึ่งของผู้ฝากมีเงินในบัญชีไม่ถึง 3,142 บาท เรายัง พบว่า 32.8% ของผู้ฝาก (หรือ 12.2 ล้านคน) มีเงินในบัญชีไม่ เกิน 500 บาท ซึ่งในจํานวนนั้นมีผู้ฝากถึง 4.7 ล้านคนที่มีเงินในบัญชีไม่ถึง 50 บาท ขณะเดียวกันมีเพียง 0.2% ของผู้ฝาก ที่มีเงินในบัญชีมากกว่า 10 ล้านบาท ทั้งนี้ ความเป็นเจ้าของ บัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์มีความแตกต่างทั้งในมิติของ อายุ พื้นที่และระหว่างผู้ชายและผู้หญิง