DPA DPA
  •     
    • ข้อมูลองค์กร
      • บทบาท หน้าที่
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • ประวัติความเป็นมา
      • คณะกรรมการ
      • คณะอนุกรรมการ
      • คณะผู้บริหาร
      • โครงสร้างองค์กร
      • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • กิจกรรมและข่าวสาร
      • กิจกรรม
      • ข่าวสาร
      • ข้อมูลบริการประชาชน
      • การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ
    • ข้อมูลสำหรับสถาบันการเงิน
      • การจัดทำข้อมูลรายผู้ฝาก
      • การคำนวณเงินนำส่ง
      • การนำส่งข้อมูลผ่านระบบรับและจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EFMS)
      • การรับส่งข้อมูลรายผู้ฝาก
    • ความรู้
      • ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองเงินฝาก
      • ผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง
      • วงเงินคุ้มครอง
      • รายชื่อสถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครอง
      • ทำอย่างไรถึงได้รับความคุ้มครองเงินฝาก
      • บทความ
      • infographic
      • วีดีโอ
    • กฎหมาย
      • พระราชบัญญัติ/พระราชกำหนด
      • พระราชกฤษฏีกา
      • กฎกระทรวง
      • ประกาศ/ข้อบังคับ
      • คำสั่ง/นโยบาย/หลักเกณฑ์
      • กฎหมาย-มติ อื่นๆ
      • การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
    • ข้อมูลเผยแพร่
      • รายงานประจำปี
      • งบการเงิน
      • หนังสือสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
      • ข้อมูลสถาบันการเงินจาก ธปท.
      • สื่อประชาสัมพันธ์
    • สมัครงาน
    • จัดซื้อจัดจ้าง
    • ถาม - ตอบ
    • ติดต่อ
      • ติดต่อ/สอบถาม
      • แจ้งเบาะแส/ร้องเรียนการดำเนินงานทั่วไป หรือการทุจริต
  • Youtube
  • Facebook
  • English
  • ข้อมูลองค์กร
  • กิจกรรมและข่าวสาร
  • ข้อมูลสำหรับสถาบันการเงิน
  • ความรู้
  • กฎหมาย
  • ข้อมูลเผยแพร่
  • สมัครงาน
  • จัดซื้อจัดจ้าง
  • ถาม - ตอบ
  • ติดต่อ
DPA
  • Youtube
  • Facebook
En
  • ข้อมูลองค์กร
  • กิจกรรมและข่าวสาร
  • ข้อมูลสำหรับสถาบันการเงิน
  • ความรู้
  • กฎหมาย
  • ข้อมูลเผยแพร่
  • สมัครงาน
  • จัดซื้อจัดจ้าง
  • ถาม - ตอบ
  • ติดต่อ
  • Home
  • FAQ
   ทั่วไป  
ตอบ:

นโยบายและมาตรการสำคัญของภาครัฐเพื่อให้การคุ้มครองผลประโยชน์ ของประชาชนผู้ฝากเงินในสถาบันการเงินว่าจะได้รับเงินฝากคืนภายในเวลา ที่รวดเร็วหากสถาบันการเงินแห่งใดแห่งหนึ่งประสบปัญหาต้องถูกเพิกถอน ใบอนุญาต

ตอบ:

ระบบการคุ้มครองเงินฝากที่ประเทศต่างๆ นำมาใช้มีจุดมุ่งหมายที่จะ สร้างเสถียรภาพทางการเงิน และความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน รวม ทั้งให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากเงินรายย่อย โดยวงเงินที่ได้รับ ความคุ้มครองจะแตกต่างตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ แต่จะอยู่ใน ระดับที่สามารถครอบคลุมผู้ฝากเงินจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของจำนวน ผู้ฝากเงินทั้งระบบ

ตอบ:

ในอดีตประเทศไทยไม ่มีระบบคุ้มครองเงินฝากที่ ชัดเจน จนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี2540 คณะรัฐมนตรี จึงมีมติให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน การเงินรับประกันเงินฝากเต็มจำนวน เพื่อเรียกความเชื่อมั่น ต่อระบบสถาบันการเงินและลดกระแสการถอนเงินที่รุนแรง ในขณะนั้นขณะเดียวกันก็ให้มีการศึกษาระบบการคุ้มครองเงินฝาก ที่มีการกำหนดวงเงินคุ้มครองตามมาตรฐานสากลเพื่อให้เกิด ความชัดเจน และเสริมสร้างให้ระบบสถาบันการเงินพัฒนา ภายใต้กลไกตลาดด้วย เนื่องจากการที่รัฐคุ้มครองเงินฝาก ทั้งจำนวนตลอดไป อาจส่งผลให้สถาบันการเงินประกอบ ธุรกิจที่สุ่มเสี่ยง (Moral Hazard) และเป็นภาระต่อภาษีของ ประชาชนโดยรวม

ตอบ:

มีแหล่งเงินมาจาก “กองทุนคุ้มครองเงินฝาก” ซึ่งเรียกเก็บจากสถาบัน การเงินตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เงินกองทุนนี้ยังเพิ่มพูน ขึ้นจากดอกผลที่ได้รับมาจากการบริหารจัดการเงินกองทุนดังกล่าวโดยสถาบัน นำเงินที่ได้รับไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง มีสภาพคล่องสูงและมี ผลตอบแทนที่เหมาะสม เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตราสารหนี้ที่กระทรวง การคลังคำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย เงินฝากธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น

ตอบ:

วงเงินสูงสุดที่ผู้ฝากเงินจะได้คืนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยวงเงิน คุ้มครองจะนับในลักษณะต่อ 1 รายผู้ฝากต่อสถาบันการเงิน 1 แห่ง (ไม่ใช่ต่อ 1 บัญชี) โดยคำว่า รายผู้ฝาก หมายถึง ผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากตาม เอกสารการเปิดบัญชีซึ่งในกรณีที่ผู้ฝากมีบัญชีเงินฝากหลายบัญชีที่เปิดอยู่กับ สถาบันการเงิน 1แห่งจะต้องนำเงินฝากในทุกสาขาและทุกบัญชีมารวมคำนวณ

ตอบ:

: เงินฝากใน “บัญชีร่วม”จะได้รับการจ่ายคืนเงินตามสัดส่วนของแต่ละคน ที่เป็นเจ้าของบัญชีร่วมตามหลักฐานที่บันทึกไว้กับสถาบันการเงิน หากไม่มีการ บันทึกไว้ถือว่าแต่ละคนมีสัดส่วนเท่าๆ กัน และนำไปรวมกับบัญชีเดี่ยวของแต่ละ คนที่มีรวมแล้วได้รับความคุ้มครองไม่เกินจำนวนวงเงินคุ้มครองที่กำหนดไว้

ตอบ:

บัญชีเงินฝากตามประเภทที่กำหนดไว้จะได้รับความคุ้มครองไม่ว่าจะมี หรือไม่มีสมุดคู่ฝาก สำหรับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์แถมประกัน จะได้รับความ คุ้มครองในส่วนของเงินฝากออมทรัพย์แต่ส่วนประกันที่ได้รับมาเพิ่มเติมไม่ได้ รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากเพราะไม่ใช่เงินฝาก

ตอบ:

สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะจ ่ายเงินคืนให้กับผู้ขอเปิดบัญชีตาม หลักฐานการเปิดบัญชีเช่น นายรุ่งเรืองขอเปิดบัญชีเพื่อเด็กชายโชติช่วง โดย นายรุ่งเรือง เป็นผู้ลงนามในคำขอเปิดบัญชีกรณีนี้สถาบันจะจ่ายเงินคืนแก่ นายรุ่งเรือง หรือนางพิมพ์ใจขอเปิดบัญชีโดยใช้ชื่อบัญชีว่า ด.ญ.เปี่ยมสุข โดย นางพิมพ์ใจ ซึ่งหากนางพิมพ์ใจเป็นผู้ลงนามในคำขอเปิดบัญชีกรณีนี้สถาบัน จะจ่ายคืนเงินแก่นางพิมพ์ใจ

ตอบ:

การเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารในประเทศไทยเป็นสกุลเงินบาท โดย ธนาคารในประเทศไทยที่รับเปิดบัญชีจะเรียกบัญชีนี้ว่า“บัญชีเงินบาทของบุคคล ที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (NON - RESIDENT BAHT ACCOUNT)” โดยการ เปิดบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศนั้นมีอยู่2 ประเภท คือ      

1. บัญชีเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น การฝากหรือ ถอนเงินจากบัญชีต้องเป็นไปเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการ เงินในประเทศไทย เช่น หุ้น พันธบัตร เป็นต้น      

2. บัญชีเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป การฝากหรือถอนเงินจากบัญชีต้องเป็น ไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่ใช่เงินลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงิน เช่น ค่าสินค้าบริการ เงินลงทุนโดยตรง เงินกู้ยืม เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ทั้งนี้ยอดคงค้างในบัญชีณสิ้นวันสำหรับบัญชีแต่ละประเภทต้องไม่เกิน 300 ล้านบาทต่อราย และห้ามโอนเงินระหว่างบัญชีแต่ละประเภท

ตอบ:

เงินฝากประเภทที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง ตัวอย่างเช่น 

• เงินฝากประเภทที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

 • เงินฝากใน “บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ” ตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ซึ่งหมายถึง บัญชีเงินฝากของบุคคลที่มี ถิ่นที่อยู่นอกประเทศทำการเปิดบัญชีเงินบาทเพื่อใช้ในการลงทุนในหลักทรัพย์ และตราสารทางการเงิน หรือเพื่อใช้ในการชำระค่าสินค้าหรือบริการ โดยมีการ จำกัดวงเงิน

 • เงินฝากที่มีอนุพันธ์แฝง 

• เงินฝากระหว่างสถาบันการเงิน ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์เงินฝาก ตัวอย่างเช่น 

• แคชเชียร์เช็ค ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ของสถาบันการเงิน 

• เงินลงทุนในตราสารต่างๆ เช่น เงินลงทุนในกองทุนรวม กองทุนรวมหุ้น ระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) พันธบัตรรัฐบาล

 • ผลิตภัณฑ์ประกันประเภทออมทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทประกัน

ตอบ:

สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากประกอบด้วย 

• ธนาคารพาณิชย์(รวมสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ เปิดดำเนินการในประเทศ) 

• บริษัทเงินทุน 

• บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สถาบันการเงินที่นอกเหนือจากประเภทที่กล่าวข้างต้น จะไม่อยู่ภายใต้กฎหมาย คุ้มครองเงินฝาก เช่น 

• สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และยังไม่ได้กำหนดในพระราช กฤษฎีกาให้เป็นสถาบันการเงินภายใต้การคุ้มครอง เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารอิสลามแห ่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร และธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นต้น ทั้งนี้สถาบันการเงินที่กล่าวมา เป็นสถาบันการเงินของรัฐ

 • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เป็นต้น

ตอบ:

บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน โดยรับฝากเงินหรือ รับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนด ไว้และสามารถให้กู้ยืมเงินตามประเภทของธุรกิจเงินทุนที่ได้รับอนุญาต เช่น การให้กู้ยืมเงินระยะปานกลางและระยะยาวแก่กิจการอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือพาณิชยกรรม การให้เช่าซื้อบางประเภท แต่ไม่สามารถประกอบธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศได้

ตอบ:

บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์โดยสามารถ รับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีและต้องฝากเงินไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาท โดยสามารถ ให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์การรับซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยวิธี ขายฝาก

ตอบ:

การฝากเงินก็เป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง ประชาชนพึงพิจารณาทั้งด้าน อัตราผลตอบแทน ความเสี่ยง และความสะดวกในการใช้บริการทางการเงิน เป็นหลัก อย่างไรก็ดีอาจขอรับคำปรึกษาจากสถาบันการเงินที่ใช้บริการทางการ เงินมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาด้วย

ตอบ:

ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเช่นเดียวกับผู้ฝากที่เป็นบุคคลธรรมดา โดยประเภทของเงินฝากและสถาบันการเงินที่ฝากอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครอง เงินฝาก

ตอบ:

ได้รับการคุ้มครอง หากเปิดบัญชีเงินฝากเป็นเงินบาท ในประเภท ที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากให้ความคุ้มครอง เว้นแต่เป็นเงินฝากใน “บัญชี เงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ” ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม การแลกเปลี่ยนเงิน

ตอบ:

สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะหักหนี้ทั้งเงินต้น ดอกเบี้ย และรายการอื่นๆ ที่ค้างชำระทั้งหมด (เฉพาะยอดหนี้ที่ครบกำหนดชำระแล้วเท่านั้น) ออกจาก จำนวนยอดเงินฝากทุกบัญชีรวมกันของผู้ฝาก แล้วจึงจ่ายเงินฝากที่เหลือคืนให้ แก่ผู้ฝากเงินไม่เกินวงเงินคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับยอดหนี้ที่ยัง ไม่ถึงกำหนดชำระซึ่งยังไม่ต้องถูกหักจากเงินฝาก ลูกหนี้ยังคงมีหน้าที่ต้องชำระ ตามเงื่อนไขของสัญญาต่อไป ทั้งนี้ขั้นตอนการจ่ายคืนเงินให้แก่ผู้ฝากเป็นไปตาม มาตรา 52 และ 53 แห่ง พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 กำหนด

ตอบ:

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง และสถาบันคุ้มครองเงินฝาก โดยแต่ละหน่วยงานมีหน้าที่ ดังนี้      สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามกรอบพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย รับฝากเงินจากประชาชนและมีหน้าที่รับผิดชอบจ่ายชำระคืนตามจำนวนเงินที่ รับฝากพร้อมผลตอบแทนตามที่ได้ให้สัญญาไว้สถาบันการเงินก็นำเงินฝากที่ ได้รับไปลงทุนหาผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ขณะเดียวกันก็ต้องระมัดระวัง รักษามูลค่าของเงินที่รับฝากและดำรงสภาพคล่องให้เพียงพอสำหรับจ่ายคืน ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินสัญญาไว้ตามคำสั่งของผู้ฝากเงินด้วย      ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่กำกับ ตรวจสอบ วิเคราะห์และติดตาม ฐานะการดำเนินงาน และการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินเป็นราย สถาบันและระบบสถาบันการเงินโดยรวม รวมทั้งมีอำนาจสั่งการให้สถาบัน การเงินปรับปรุงฐานะและการดำเนินงานเพื่อป้องกันไม่ให้สถาบันการเงินมีฐานะ เสื่อมลงซึ่งจะเป็นการลดความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้และเศรษฐกิจ ได้รับความเสียหาย ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต      กระทรวงการคลัง มีอำนาจในการกำกับดูแลโดยทั่วไป ได้แก่ การพิจารณา ออกใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาตสถาบันการเงิน      สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีบทบาท เมื่อสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต โดยจะทำการจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ฝากเงินตามวงเงินคุ้มครองไปก่อน โดยผู้ฝาก ไม่ต้องรอให้กระบวนการชำระบัญชีเสร็จสิ้นซึ่งต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง

ตอบ:

ผู้ฝากเงินสามารถประเมินฐานะและความมั่นคงของสถาบันการเงิน จาก ข้อมูลสารสนเทศที่เผยแพร่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบันการเงิน เช่น ผลกำไร อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์(ROA) ฐานะเงินกองทุน (BIS Ratio) คุณภาพของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) เป็นต้น หรือจากการจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือที่จัดทำโดยองค์กรที่เป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศ ทั้งนี้ผู้ฝาก เงินสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.bot.or.th หัวข้อสถิติสถาบันการเงิน

ตอบ:

การชำระบัญชี คือ “ การชำระสะสางกิจการงานของสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้เสร็จสิ้น ติดตามทวงถามหนี้ของลูกหนี้และดำเนินคดีความต่างๆ รวมทั้งรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดของสถาบันการเงินนั้นออกจำหน่าย และจัดสรรเงินให้กับบรรดาเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินนั้นต่อไป”

ตอบ:

เมื่อสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต สถาบันคุ้มครองเงินฝาก จะเป็นผู้ชำระบัญชีตาม พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551

  • สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
  • อาคารเอสเจ อินฟินิท วัน บิสซิเนสคอมเพล็กซ์
    ชั้น 25-27 เลขที่ 349 ถนนวิภาวดีรังสิต
    แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

© Copyright 2018 - สถาบันคุ้มครองเงินฝาก DPA : Deposit Protection Agency - All Right Reserved

  • แผนผังเว็บไซต์
  • ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์
  • นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เว็บไซต์มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์